เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 10

ธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้
ก็เป็นนาถกรณธรรม
5. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ
งานต่ำ1ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ
สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
6. เป็นผู้ใคร่ธรรม2 เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความ
ปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม3 ในพระอภิวินัย4 แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความปราโมทย์
อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
7. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ นี้ก็เป็นนาถ-
กรณธรรม
8. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม เกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

เชิงอรรถ :
1 งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ
เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์ เป็นต้น งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อย มีล้างเท้า และนวดเท้า เป็นต้น
(ที.ปา.อ. 345/246, องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
2 ผู้ใคร่ธรรม ในที่นี้หมายถึงรักพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก (ที.ปา.อ. 345/247, องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
3 พระอภิธรรม หมายถึงสัตตัปปกรณธรรม คือพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ มรรค 4 และ
ผล 4 (ที.ปา.อ. 345/247, องฺ.ทสก.อ. 3/17/323)
4 พระอภิวินัย หมายถึงขันธกบริวาร หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องระงับกิเลส (ที.ปา.อ.
345/247, องฺ.ทสก.อ. 3/17/323)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :360 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 10

9. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน1อย่างยิ่ง
ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ
คำที่พูดแม้นาน นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
10. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ
เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

2
[346] กสิณายตนะ2 (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) 10
1. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ

2. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ...
3. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ...
4. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ...
5. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ...
6. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ...
7. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ...
8. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ...

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 331 หน้า 334 ในเล่มนี้
2 บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดยบริกรรมกสิณ
เป็นอารมณ์ คำว่า กสิณ หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิ (ที.ปา.อ. 346/247, องฺ.ทสก.อ.
3/25/333, อง.ทสก.ฏีกา 3/25/395) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/25/56

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :361 }